
วันที่ 1 มิถุนายน 2479
ได้ยกฐานะเป็นโรงเรียนประชาบาล เรียกว่า โรงเรียนประชาบาล ตำบลขันเงิน1 (วัดปากสระ) พระพวง วุฒิสาโร ขอลาออกทางราชการได้ขอแต่งตั้ง พระเอือบ ฐานิสสโร รักษาราชการแทนครูใหญ่ ต่อมา นายอรุณ อรุณโชติ ครูประชาบาลตำบลบางยี่โร 1 (วัดด่านประชากร) มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และเปิดรับ นักเรียนชาย-หญิง เข้าเล่าเรียน
ปี พ.ศ.2481
กระทรวงธรรมการ ได้จ่ายเงินงบประมาณสมทบมาสร้างอาคาร ขนาด 8 x 10 แบบใต้ถุนสูง หลังคามุงกระเบื้อง
เสา พื้นและฝาไม้เนื้อแข็ง เป็นเงิน 1,000 บาท และพระพวง วุฒิสาโร ได้เรี่ยไรเงินสมทบทุน
ได้ 575 บาท สร้างเสร็จ พ.ศ. 2481 การสอนแบ่งออกเป็น 6 ห้อง คือชั้นเตรียม ป.1 ก.ข.ป.2,3 และ4
ปี พ.ศ. 2481
นายอรุณ อรุณโชติ ได้ลาออกจากหน้าที่ นายนับ อักษรขำ มาดำรงตำแหน่งแทน
วันที่ 31 มกราคม 2496 นายนับ อักษรขำ ได้ออกจากหน้าที่ราชการ นางสาวพยอม สุขศิริ รักษาราชการแทนครูใหญ่ วันที่ 22 มิถุนายน 2496 นายชุบ กลัดวัง มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ การสอน แบ่งชั้นเรียนเป็น 9 ห้องเรียน วันที่ 13 สิงหาคม 2497 นายชุมพล กุลมาตย์ มาดำรงตำแหน่งแทน นายชุบ กลัดวัง วันที่ 10 มกราคม 2501 ทางราชการได้แต่งตั้ง นายพรหม บุญซ้อน ครูใหญ่โรงเรียนวัดดวด มาเป็นครูใหญ่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2504 ได้รับอนุญาตให้เปิดประถมปลาย จำนวน 1 ห้องเรียนและขยายเพิ่มเติมทุกปี ชั้นละ 3 ห้องเรียน จนถึงประถมศึกษาปีที่ 7 พระครูอาทร ธรรมวัตร (ชบ สุจิณโณ) เจ้าอาวาสวัดประสาทนิการ ได้อนุญาตให้ขยายบริเวณโรงเรียน เพื่อสร้างอาคาร 002 ขนาด 7 x 24 เมตรจำนวน 1 หลัง อาคารนี้ได้จัดสร้างโดยผู้ปกครองนักเรียน โดยไม่ได้พึ่งงบประมาณทางราชการ วันที่ 3 สิงหาคม 2504 นายสุดใจ โสมขันเงิน ครูตรีโรงเรียนวัดถ้ำเขาเงิน มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ตามคำสั่งราชการ
ปี พ.ศ. 2507
ได้เสนอขอแต่งตั้งกรรมการการศึกษาเป็นครั้งแรกจำนวน 12 ท่าน มีนายมังกร วรวิสุทธิสารกุล เป็นประธานคณะกรรมการปีนี้ได้จัดสร้างห้องสุขา 5 ที่นั่งปรับปรุงห้องพยาบาล ห้องพักครู และบ่อน้ำ พระครูอาทรธรรมวัตรได้สร้างเสาธงเหล็ก พร้อมฐานให้โรงเรียน 1 ที่ เป็นเงิน 815 บาท กั้นฝาอาคาร002 ขนาด 7 x 27 เมตร จากงบค่าใช้สอย 4,000 บาท และแรงงานพัฒนาจนเสร็จสิ้น วันที่ 17 พฤษภาคม 2506 กรมสามัญศึกษาได้กำหนดให้โรงเรียนรับเด็ก เข้าเรียนตาม พ.ร.บ. ขยายการศึกษาภาคบังคับ
ปี พ.ศ. 2507
ได้ต่อเติมอาคาร 002 ออกไปอีก 4 ห้องเรียน ขนาด 7 x 36 เมตร จากเงินงบประมารค่าใช้สอย 3,040 บาท จากกิจกรรมของนักเรียน 2,546.50 บาท แรงงานจากผู้ปกครองร่วมพัฒนา
ปี พ.ศ. 2508
ได้รับงบประมาณ 30,800 บาท สร้างโรงฝึกงานจำนวน 1 หลัง ตามแบบกรมสามัญ และคณะครูให้จัดสร้างส้วม 1 หลัง 7 ที่นั่ง เป็นเงิน 3,500 บาท
ปี พ.ศ. 2509
นายสุดใจ โสมขันเงิน และพระครูปลัดพวง วุฒิสาโร ได้นำเนินการ จัดสร้างอาคารเรียนแบบ 004 แทนอาคารหลังเก่าที่ชำรุด 2 ชั้น 8 ห้องเรียน มีครุภัณฑ์ ครบมีผู้บริจาคเงินสมทบสร้างผ่านนายอภัย จันทรวิมล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในวัน เปิดค่ายลูกเสืออำเภอหลังสวน 9 กุมภาพันธ์ 2509 เป็นเงินทั้งสิ้น 33,000 บาท และงบประมาณองค์การบริหารส่วนจังหวัด 175,000 บาท รวมค่าก่อสร้าง ทั้งหมด 415,000 บาท
ปี พ.ศ. 2513
ได้ต่อน้ำประปาเข้าโรงเรียนได้รับบริจาคนางชิต นาควัจนะ เป็นเงิน 2,000 บาท เพื่อใช้ในการนี้และคณะครูร่วมบริจาคอีก 4,000 บาท
ปี พ.ศ. 2515
โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารแบบ 017 1 หลัง มีครุภัณฑ์พร้อม เป็นเงิน 240,000 บาท สร้างรั้วคอนกรีตด้านหน้าจากเงินบริจาคของ ขุนรัตน์ รัตนการ และนางเสก เป็นเงิน 7,240 บาท
ปี พ.ศ. 2517
ได้รับงบประมาณสร้างอาคาร 1 หลัง แบบ 017 เป็นเงิน 230,000 บาท ศิษย์์เก่าบริจาคสมทบอีก 20,000 บาท และได้รับอนุญาตให้รื้อถอนอาคาร 002 เพื่อใช้ที่สร้างอาคารดังกล่าว ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู 1 หลัง เป็นเงิน 35,000 บาท นายดิเรก พัฒนไพบูลย์ ได้จัดสร้างห้องสุขาให้ 8 ที่นั่ง เป็นเงิน 20,000 บาท สภาตำบลอนุมัติเงินสร้างรั่วให้อีก 10,000 บาท
ปี พ.ศ. 2518
สภาตำบลอนุมัติเงิน ปช.ลต.ต่อเติมอาคารเรียน 007 ชั้นล่าง
ปี พ.ศ. 2519
ได้รับงบประมาณบ้านพักครู 2 หลัง เป็นเงิน 120,000 บาท โดยเจ้าอาวาสอนุญาตให้ปลูกสร้างในที่ดินของวัดทางทิศใต้ สภาตำบลได้อนุมัติ เงิน 43,980 บาท ปรับปรุงโรงฝึกงานกับปรับปรุงต่อเติมอาคาร 002 อีก 1 ห้องเรียน
ปี พ.ศ. 2522
ได้งบประมาณสร้างอาคาร 017 อีก 1 หลัง เป็นเงิน 400,000 บาท
ปี พ.ศ. 2528
นายสุดใจ โสมขันเงิน อาจารย์ใหญ่ ได้ย้ายไปโรงเรียนวัดสว่างมนัส นายพร้อม เพชรสุวรรณ ได้มาดำรงตำแหน่งแทนเมื่อ วันที่ 11 กันยายน 2529 และได้เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530 ทางราชการได้แต่งตั้งนายประเวง ใจเย็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนชุมชนวัดหาดสำราญ มาดำรงตำแหน่งแทนเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2530
ปี พ.ศ. 2536
นายบุญรัตน์ โปขันเงิน ได้นำผ้าป่ามาทอดให้โรงเรียน เป็นเงิน 200,000 บาท เพื่อสร้างถนนคอนกรีตหน้าโรงเรียน
และดำเนินการสร้างจนเสร็จสิ้น มีเงินเหลือทำที่จอดรถได้อีก 1 หลัง
ปี พ.ศ. 2537
คณะครูและและกรรมการศึกษา ได้หาเงินต่อเติมเปลี่ยนแปลง โรงฝึกงานทำห้องสมุด โดยกั้นอิฐบล็อก ปูกระเบื้อง
ติดเพดาน ใช้เงิินทั้งสิ้น 170,000 บาทและต่อเติมอาคาร 017 อีก 3 ห้อง เป็นสำนักงานบริหาร
ปี พ.ศ. 2540
ได้ให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนปฎิรูปการศึกษาได้รับงบประมาณสร้าง ห้องปฎิบัติการ 3 ห้อง วันที่ 30 กันยายน 2544
นายประเวง ใจเย็น เกษียณอายุราชการ ทางราชการได้แต่งตั้ง นายลักษไชย มลอุ่น อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนบ้านคลองกก
มาดำรงตำแหน่งแทน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544
ปี พ.ศ.2545
โรงเรียนร่วมกับคณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศิษย์์เก่า ผู้ปกครองและผู้มีจิตศรัทธาร่วมสร้าง โรงอเนกประสงค์ ขนาด 17 x 18 เมตร ราคา 1 ล้านบาทเศษ
ในปี พ.ศ. 2546 โรงเรียน ได้ใช้พื้นที่จัดเพิ่มเติม ร่วมเป็นเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 2 งาน